องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ : www.my.go.th

 
 
 


มาตรการป้องกันโควิด 19 ในสถานศึกษา


เมื่อสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด 19 เริ่มดี รัฐบาลก็มีมาตรการให้เริ่มปลดล็อคมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดห้างสรรพสินค้า , ร้านค้า, ร้านอาหาร รวมไปถึง โรงเรียนที่กำลัง จะเปิดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ โดยที่จากเดิมนักเรียนจะต้องเรียนออนไลน์จากที่บ้าน ก็จะเริ่มปรับให้มาเรียนที่สถานศึกษาเป็นตามเดิมกันแล้ว แม้ว่าหลายๆ อย่างจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่เราทุกคนก็จะต้องปรับตัวเข้าหากันมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งมันอาจจะยุ่งยากมากขึ้น แต่มันจะช่วยให้เราปลอดภัยจากเชื้อไวรัสได้ สำหรับวิธีการป้องกันโควิด 19ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราทุกคนจะต้องตื่นตัวและให้ความช่วยเหลือทั้งตัวนักเรียนเอง และครูผู้สอน เพื่อจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่า บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ คู่มือสำหรับนักเรียน นักศึกษา: กลับไปโรงเรียนในช่วงโควิด 19 ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร คู่มือสำหรับผู้ปกครอง: วิธีรับมือลูกไปโรงเรียน ในสถานการณ์โควิด 19 ในวันนี้เรามีเคล็ดลับที่ดีในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรน่าเมื่อคุณจะต้องไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาในพื้นที่ที่มีจำนวนคนมากมายมาฝากกันค่ะ มาดูกันเลยดีกว่าจะมีวิธีไหนบ้าง คำแนะนำในการป้องกันตัวเองจาก COVID-19 ในสถานศึกษา 1. การตรวจคัดกรองก่อนเข้าโรงเรียนหรือสถานศึกษา ทางโรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องมีจุดตรวจสอบก่อนเข้าห้องเรียนควรจัดพื้นที่ให้เป็นโซนแยกอย่างชัดเจนและควรมีการจัดระเบียบในการเข้าแถวออกห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร หากมีนักเรียนหรือนักศึกษาคนไหนมีไข้สูงกว่า 37.5 °C หรือหากพบว่าอาการจาม ไอ น้ำหมูกไหล เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ให้นักเรียนหรือนักศึกษาคนนั้นหยุดเรียนและไปพบแพทย์โดยทันที (คุณสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการของโรค COVID-19 ได้) หากพบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้รีบแจ้งศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ทันที การตรวจคัดกรองก่อนเข้าโรงเรียนหรือสถานศึกษา หมายเหตุ: โดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจคัดกรองมักจะใช้เป็นเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบอินฟาเรด ที่ใช้วัดค่าอุณหภูมิร่างกายผ่านผิวหนังโดยไม่ต้องสัมผัสตัว อาทิเช่น เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบที่ยิงหน้าผาก ซึ่งจะช่วยให้สามารถคัดกรองผู้คนจำนวนมาก ๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และที่สำคัญสภาพแวดล้อมโดยรอบจะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 85% และควรวางเครื่องวัดไว้ในพื้นที่นั้น ๆ ก่อน 10-30 นาที เพื่อให้เครื่องวัดปรับค่าอุณหภูมิให้เข้าอุณหภูมิของพื้นที่ คุณสามารถอ่าน วิธีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดหรือการเลือกเครื่องวัดที่เหมาะกับการใช้งานด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมได้จากบทความนี้ “เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้อินฟาเรด ที่แม่นยำที่สุด ปี 2020” 2. การจัดการในโรงอาหาร โรงอาหารเป็นทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสถานที่ที่ผู้คนแอดอัด ซึ่งจะเป็นเฉพาะเวลาพักเที่ยงที่ทุกคนพักตรงกัน ดังนั้นโรงอาหารจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงที่สุด ทางโรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องมีมาตรการในการจัดการที่ดีจึงจะช่วยลดความเสี่ยงได้ 2.1 จัดพื้นที่สำหรับจุดตรวจคัดกรอง มีจุดตรวจคัดกรองก่อนเข้าโรงอาหาร ซึ่งจะต้องทำเช่นเดียวกันกับการตรวจคัดกรองก่อนก่อนเข้าโรงเรียนหรือสถานศึกษา นั่นก็คือจัดระเบียบแถวให้เรียบร้อย เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร 2.2 การสวมหน้ากากอนามัย สำหรับผู้ซื้อและผู้ขายควรจะสวมหน้ากากอนามัยในตอนซื้ออาหาร แต่สำหรับผู้ขายหรือผู้ประกอบการ จะต้องสวมมากกว่าหน้ากากอนามัยนะคะ เพราะคุณจะต้องสวมทั้ง ถุงมือยางอนามัย หมวก และผ้ากันเปื้อน 2.3 ทำความสะอาดพื้นผิวที่ได้รับการสัมผัสบ่อย ๆ ทำความสะอาดพื้นผิวที่ได้รับการสัมผัสบ่อย ๆ อาทิเช่น โต๊ะ เก้าอี้ บัตรคูปองแทนเงินสด หรือแม้แต่ชุดเครื่องปรุงอาหารสำหรับร้านที่ขายจำพวกก๋วยเตี๋ยว เพราะทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นพื้นผิวที่ทุกคนจะต้องใช้ร่วมกันทั้งสิ้น อย่าลืมทำความสะอาดแผงจำหน่ายอาหาร โดยใช้เลือกใช้เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป, น้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป, หรือจะเป็นน้ำยาฟอกขาวสำหรับฆ่าเชื้อ (คุณสามารถอ่านวิธีทำผ้าเช็ดทำความสะอาดสำหรับฆ่าเชื้อได้จากบทความของเรา) และควรจะมีการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม 2.4 จุดบริการล้างมือ ภายในโรงอาการควรมีจุดบริการล้างมือ การล้างมือที่ถูกต้องนั้นจะต้องล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และล้างให้สะอาดทุกซอกทุกมุม คุณสามารถอ่านวิธีล้างมือได้จากบทความ “ล้างมืออย่างไรให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรคต่างๆ“ และควรมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป แนะนำวิธีการใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพที่สุด หมายเหตุ: คุณสามารถทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือได้เองแบบง่าย ๆ ได้จากบทความของเรา แต่จะต้องตรวจสอบสอบชนิดของแอลกอฮอล์ว่าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์หรือเมทิลแอลกอฮอล์ เพราะหากใช้ผิดชนิดอาจจะเกิดอันตรายได้ สำหรับใครที่ล้างมือบ่อยจนมือแห้งกร้านเรามีเคล็ดลับวิธีป้องกันปัญหามือแห้งจากการล้างมือบ่อยมาฝากกันค่ะ 2.5 การจัดการที่นั่ง ที่นั่งสำหรับรับประทานอาหารนั้นจะต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร สำหรับการนั่งฝั่งตรงข้ามนั้นควรจะจัดให้เป็นการนั่งแบบเฉียงกัน ไม่ควรให้นั่งตรงกันข้ามแบบตรง ๆ หรือควรจะมีฉากกั้นให้เรียบร้อย 2.6 ความสะอาดของอุปกรณ์บนโต๊ะทานอาหาร สำหรับทางร้านค้านั้นก็ควรมีมาตรการทำความสะอาดที่ดี อาทิเช่น ช้อนทานอาหารหรือแก้วน้ำ หากเป็นการทานอาหารร่วมกันแนะนำให้ใช้ช้อนกลาง และควรจะใช้แก้วน้ำแยกให้ชัดเจนไม่ควรใช้ร่วมกัน หากเป็นได้สำหรับช้อนทานอาหารหรือแก้วน้ำและขวดน้ำนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งระวังเช่นกัน เพราะเป็นอุกปกรณ์ที่เราจะต้องเอาเข้าปาก ดังนั้นเราแนะนำให้พกของใช้ส่วนตัวมาเองจะปลอดภัยที่สุดค่ะ 2.7 มาตรการความสะอาดสำหรับร้านประกอบการ สำหรับทางร้านประกอบการนั้น ก็ต้องมีการจัดที่ดี อาทิเช่น ภาชนะใส่ช้อนส้อมควรจะเป็นภาชนะแบบมีฝาปิดที่มิดชิด รวมถึงอาหารที่ทำจะต้องปรุงสุกใหม่ สำหรับข้าวราดแกงจะต้องมีที่ปิดอาหารให้เรียบร้อย และใช้ต้องใช้อุปกรณ์สำหรับหยิบจับอาหารให้ชัดเจน ไม่ควรใช้มือในการหยิบจับอาหาร และแผงที่จำหน่ายอาหารจะต้องมีฉากกั้นระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 3. การจัดระเบียบในห้องเรียน นักเรียนหรือนักศึกษาทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัย การจัดการระยะห่างของโต๊ะเรียน หากโต๊ะเรียนสามารถแยกกันได้ ให้แยกโต๊ะออกจากกันและเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร สำหรับโต๊ะที่แยกไม่ได้ จะต้องนั้งเว้นเก้าอี้ไว้หรือมีที่กั้นให้เรียบร้อย คนภายในห้องเรียนไม่ควรเกิน 10-20 คน/ห้อง หากสถานที่ศึกษาหรือห้องเรียนไม่เพียงพอให้พิจารณาทำการเรียนการสอนเฉพาะกลุ่ม ข้อ 1-3 ขอขอบข้อมูลบางส่วนมาจาก: นิติแพทย์ชั้นปีที่ 6 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และเพจ Facebook Infectious ง่ายนิดเดียว 4. การเปิดเรียนและการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษา สำหรับการใช้สถานที่ทำกิจกรรม หรือเฉพาะประเภทกีฬาผ่อนคลาย นั้นสามารถทำกิจกรรมได้ แต่ต้องพิจารณาถึงจำนวนนักเรียนต่อพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรค สำหรับการใช้อาคารของสถาบันศึกษาเพื่อเป็นสถานที่ในการประชุม, จัดการสอบต่าง ๆ หรือฝึกอบรมระยะสั้น(ไม่เกิน 15 วัน) ให้ยังคงดำเนินการป้องกันตามมาตรการเดียวกันอย่าง กรองก่อนเข้าโรงเรียนหรือสถานศึกษา ทางโรงเรียนหรือสถานศึกษาจะต้องมีจุดตรวจสอบก่อนเข้าห้องเรียนควรจัดพื้นที่ให้เป็นโซนแยกอย่างชัดเจนและควรมีการจัดระเบียบในการเข้าแถวออกห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร หากมีนักเรียนหรือนักศึกษาคนไหนมีไข้สูงกว่า 37.5 °C หรือหากพบว่าอาการจาม ไอ น้ำหมูกไหล เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ให้นักเรียนหรือนักศึกษาคนนั้นหยุดเรียนและไปพบแพทย์โดยทันที (คุณสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการของโรค COVID-19 ได้) หากพบว่ามีนักเรียนหรือนักศึกษามีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้นมากกว่า 3 คนขึ้นไป ให้รีบแจ้งศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ทันที




2024-04-11
2024-04-08
2024-03-26
2024-03-15
2024-03-13
2024-03-06
2024-03-05
2024-03-05
2024-02-29
2024-02-29